วันมืดมิดในชีวิตการลงทุน EP.2 ชาย มโนภาส

วันนี้มาฟังบทเรียนจากประสบการณ์การลงทุนกว่า 30 ปีของอ ชาย มโนภาส ว่ากว่าจะมาถึงวันนี้ได้เขาผ่านอะไรมา ได้เป็นแนวทางการประยุกต์ใช้ลงทุนของเราได้ครับ


อ เล่าว่า ช่วงที่เจ็บหนักสูดคือช่วงวิกฤติซัพพรามในปี 2008 แต่ แม้ว่าก่อนหน้านั้นได้เริ่มเห็นสัญญาณมาก่อน เช่น ยอดขายบ้านที่ลดลง การล้มของธนาคาร เลแมน บราเดอร์สทำให้ขายหุ้นทิ้งตั้งแต่ดัชนี 800 จุด
และเมื่อดัชนีลงมา 600 จุดก็เข้าไปช้อเพราะเห็นว่าลงมาเยอะมากแล้ว และวิกฤติที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดในประเทศ เหมือนรอบต้มยำกุ้ง


แต่ราคาหุ้นก็ยังลงต่อ จุดจุดต่ำสุดที่ 200 จุด เนื่องจากปัญหาสภาพคล่องของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ต้องขายสินทรัพย์ทั่วโลก เพื่อดึงสภาพคคล่องกลับ และฝรั่งขายแทบจะทุกราคา เริ่มจากขายหุ้นใหญ่ พอขายหุ้นใหญ่จบก็ไล่มาหุ้นเล็ก


สำหรับการแก้เกมส์ ของ อ ชาย มโนภาส โดยการเลือกหุ้นคุณภาพดีเข้าพอร์ท โดยเลือกบริษัทที่มีความสามารถในการแข็งขัน หนี้น้อยๆ กระแสเงินสดดำเนินงานเป็นบวก และเน้นทำธุรกิจภายในประเทศ เพราะช่วงนั้นบริษัทที่ทำส่งออกเจ้งหมด เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในอเมริกา และยุโรป ที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ของ ไทยมีปัญหาไปด้วย


ยกตัวอย่างหุ้นธนาาคารเอาเงินฝากไปปล่อยกู้ แต่ทุนมี 10% ของสินทรัพย์เอง แสดงว่าถ้าเกิดหนี้เสีย ซัก 10% ก็เจ้งแล้ว ในขณะที่ธนาคารอเมริกาล้มกันระเนระนาดแต่บริษัที่ขายของจำเป็น หนี้น้อย wallmart dollar tree ก็ยังไม่ปิด ขายของได้อยู่ อ ชาย มโนภาส ได้เสริมเรื่องการวิเคราะห์มหภาคว่าต้องดูอะไรบ้าง เพราะบางทีหุ้นที่ขึ้นก็อาจไม่ได้ดีเสมอไป อาจขึ้นจากสภาพคล่อง ปริมาณเงิน ตึงตัวหรอืเปล่า inter bankrate การกู้ยืมระหว่างธนาคาร repo rate M1 m2 ยอดซื้อขายบ้าน รถ สภาพคล่องดีก็ดันหุ้นขึ้นไปได้
หลังจากวิกฤติซัพพรามทำให้สภาพคล่องในระบบหดหาย ก็มีเรื่องโชคดีคือการออกนโยบาย QE ของเฟตอัดเงินเข้าระบบ ทำให้แก้ปัญหาสภาพคล่องของธนาคาร และเครื่องยนต์เศรษฐกิจกลับมาทำงานได้ แต่เงินส่วนหนึ่งที่ไม่ได้เข้ามาที่ real sector ก็เข้ามากองทันที่ตลาดหุ้น ทำให้ตลาดหุ้นวิ่งแบบไม่ลืมหูลืมตา
บาดแผลการลงทุน


ตัวที่ทำให้เจ็บตัวหนึงคือหุ้นที่ทำธุรกิจสายการบินแห่งหนึ่ง เข้าตลาดหุ้นมาด้วยเรืองราวสวยหรู จากภาพใหญ่การเติบโตของภาคการท่องเที่ยว และการเดินทางภายในประเทศทำให้ความต้องการเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้น แต่หลังจาก IPO มาราคาหุ้นก็ร่วงอย่างเดียว จากสภาพการแข่งขันที่มากขึ้นจากคุ่แข่งรายใหม่ทำให้ บริษัทต้องลงทุนเยอะขึ้น และมาเจอเรื่อราคาน้ำมันที่พุ่งสูงทำให้พาเจ้งไปอีก
อีกกรณีศึกษาที่กำไรไม่มาตามนัดคือหุ้น OISHI หลังจากเข้าซื้อกิจการจากกลุ่มไทยเบฟ และทำตลาดร่วมกับบริษัทเสริมสุขที่ทำน้ำอัดลมแบรนด์ เอส ที่มีเครื่อข่ายการจัดส่งในร้านค้าทั่วประเทศ ก็จะเชื่อว่าจะมีการ synergy กัน โดยสินค้าตัวแรกคือนำชาเขียว Oishi ขวดแก้วเข้าไปจำหน่ายในร้านอาหาร แต่สุ้ดท้ายกำไรก็ไม่ได้มาตามนัด


พิธีการถามถึงจุดขาย อ ชาย บอกว่าพิจารณาจากหลายๆองค์ประกอบประกอบกันทั้งราคาและพื้นฐาน ถ้าไม่ไหวจริงก็ต้องดูว่าเราพร้อมจะเสียแค่ไหน ถ้าได้กำไรจากตัวอื่นพอควร ก็รักษาเงินต้นไว้กอ่นได้
เรื่องยากของนักลงทุนอีกเรื่องคือการยึดติดกับโอกาส เพราะช่วงแรงๆที่ลงทุนความรู้ยังไม่เยอะกว่าจะเจอหุ้นแต่ละตัวก็ยาก เราต้องขยายขอบข่ายความรู้ของการลงทุนให้กว้างขึ้น จะเจอหุ้นได้มากขึ้น และเอาทรัพยากรมาใส่หุ้นที่แน่ๆ ลงทุนในสิ่งที่เราเห็นภาพชั้นดีกว่า และพยายาม bet ให้น้อยที่สุด


ในเรื่องของการประเมินมูลค่าบางทีหุ้น PE ต่ำๆก็ไม่ได้ดีเสมอไป ต้องมีความรู้ทางธุรกิจประกอบด้วย ว่ารอบธุรกิจยังขาขึ้นไหม กำไรโตได้หรือไม่ไหม สินค้าตอบโจทย์ไหม ยกตัวอย่างเช่นหุ้นอสังหาถ้า PE ต่ำเพราะกำไรเพิ่มจากการโอนโครงการใหญ่ๆไปแล้วอนาคตไม่มีโครงการใหญ่ๆทำต่อ กำไรอนาคตก็อาจลดลง PE ที่เห็นต่ำๆ ก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้น และจากหุ้นถูกก็จะกลายเป็นหุ้นแพงไปได้


หลังจากฟัง อ ชาย จะเห็นว่าแรกๆขยันหาความรู้ไว้ก่อน เดี๋ยวพอความรู้เริ่มเยอะ เราจะเห็นโอกาสมากขึ้น และลงทุนได้คมมากขึ้น ลงทุนได้คมยิ่งๆขึ้นไปทุกท่านครับ


ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=MjStBdYQ7zg

ไอเดียการลงทุนหลัง FED ลังเลขึ้นดอกเบี้ย

ไอเดียการลงทุนหลัง FED ลังเลขึ้นดอกเบี้ย.หลังจากการประชุม FED นัดสำคัญเมื่อ วันพุธ ที่ 26/1/2021 ซึ่งเป็นนัดที่เหล่านักลงทุนสนใจ เพราะ ก่อนการประชุม ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกผันผวนมาก

DJI – 8.9% , S&P500 – 11.7% , DAX – 7.4% , GOLD – 0.61% BTC -24.32% , WTI + 9% SET – 3.67 % .นักลงทุนในตลาดต่างจับตามองเป็นอย่างแพร่หลาย เฝ้ารอว่า ประธาน FED สร้างความชัดเจนให้ตลาด แต่กลับกลายเป็นทำให้ตลาดสับสนไปกว่าเดิม

อาทิตย์หน้าตลาดจะฟื้นไหม ? FED ไม่ฟันเราฟันให้ ไปอ่านกันเลยครับ

ประเด็นที่น่าสนใจ

🔥ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)วันที่ 26-27 มค 2565 เป็นไปตามคาดการณ์ว่าเฟดมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ 5 ครั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นในเดือน มี.ค.นี้ 2 ครั้งรวม 0.50% ขณะเดียวกัน ประธานเฟดเลี่ยงการตอบคำถามเกี่ยวกับการปรับลดงบดุล

🔥Fund flow ทั่วโลกกำลังปรับทัพการลงทุนใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบายการของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จากภาพด้านล่าง ( ขอบคุณข้อมูลจาก www.goinvest.in.th) เราจะเห็นถึงกระแสเงินไหลเข้าไปยัง สินทัพย์ปลอดภัย และ กลุ่มสินทรัพย์ที่สามารถป้องกันความเสี่ยงภาวะเงินเฟ้อได้ เช่น Money market , Commodities , Government Bond

🔥ปัจจุบันตลาดเริ่มเห็นมีสัญญาณฟื้นตัวบ้างๆ ในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง ล่าเมื่อดูสัญญาณการกลับตัวของตลาด เราเริ่มเห็นการรีบาวด์ ในตลาดหุ้นหลายๆ ตลาด เช่น DJI สามารถปิดเขียว + 1.65% NDQ + 3.22% S$P550 + 2.44% Nikkei225 +2.09%

🔥 ด้าน กองทุน protect inflation ยอดนิยมในตลาด ยังเป็นทิศทางขาขึ้นนั้นสะท้อนให้เห็นว่าตลาดยังคงเชื่อว่าเงินเฟ้อระดับสูงยังคงสร้างความกังวลให้นักลงทุนต่อไป แต่ในระยะสั้นๆเริ่มลดความร้อนแรงลงมาได้บ้าง

Invesco Bloomberg Commodity UCITS ETF +1.25%

Xtrackers MSCI World Financials UCITS ETF -0.11%

Tabula US Enhanced Infla UCITS ETF USD +0.56%

iShares Physical Gold ETC -0.39%

iShares UK Property UCITS ETF – 0.56%

🔥ดัชนีความกลัว VIX index เริ่มมีสัญญาณ อ่อนแรงลงมาบ้าง ก็น่าจะทำให้ภาพรวมตลาดกลับมาใช้เหตุผลกันมากขึ้น และ หาฐานเจอในช่วงสั้นๆ ตรงนี้ก่อน

🔥ประเด็นการลงทุน คาดว่าตลาดจะเริ่มผันผวนน้อยลง เพราะ ตลาดรับรู้ประเด็น การปรับขึ้นดอกเบี้ยไปหมดแล้ว และ ถ้าไม่มีประเด็นลบกว่านี้ตลาดก็น่าจะฟื้นตัวได้ แต่ยังคงไปไหนไม่ไกล ปัจจัยเป็นลบเพิ่มเติมที่อาจจะทำให้สมุติฐานนี้ผิดไป ก็คือ ประเด็นความขัดแยงกันระหว่าง รัสเซีย และ ยูเคน เราคงต้องเฝ้าพัฒนาการประเด็นนี้กันต่อไป

เรายังคงเน้นลงทุนในกลุ่มที่สามารถลงทุนได้ตามธีมหลัก คือ กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ เช่น ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ โดยเน้นไปยังหุ้นที่ PE และ PBV ต่ำๆ ไว้ก่อน

ภาพด้านล่างจะเล่นหุ้นในกลุ่มที่เข้าธีมการลงทุนดังกล่าว เพื่อนๆสามารถนำมาทำการบ้านกันต่อได้ครับ

ดอกเบี้ยขาขึ้น อุตสาหกรรมอะไรได้ประโยชน์

ดอกเบี้ยขาขึ้นกำลังเป็นประเด็นในช่วงนี้ แต่ไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไรก็ต้องมีกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์เสมอ มาดูกันครับว่ามีหุ้นกลุ่มไหนได้ประโยชน์กันบ้าง

สำหรับการขึ้นดอกเบี้ยของ fed ในครั้งนี้ เกิดจากในช่วง COVID เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ทางสหรัฐต้องใช้ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สำหรับนโยบายการเงิน fed ได้อัดเงินเพิ่มผ่านการทำ QE ทำให้งบดุลของ fed เพิ่มจาก 4 ล้านล้านดอลล่าห์ ขึ้นมาเป็นกว่า 9 ล้านๆ ดอลล่าห์ และลดดอกเบี้ยลงต่ำเตี้ยเรี้ยดิน

จากการกระตุ้นแบบหนักหน่วงทำให้ เมื่อเริ่มเปิดเมือง คนเริ่มมีเงินจากเงินชดเชยต่างๆ และการถูกล็อกดาวน์มาหลายเดือนทำให้ความตองการซื้อกลับมาอย่างรวดเร็วผลิตของมาขายแทบไม่ทัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์กว่า 7% เป็นภาวะที่ไม่เคยเห็นมาเกือบ 40 ปี

ทังจากภาวะเงินเฟ้อ และการว่างงานที่เริ่มดีขึ้นทำให้ fed มีมุมมองที่จะหยุดการทำ QE ในปีนี้ และทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย แค่ออกมาเปรยๆ ตลาดหุ้นก็ตกแบบฉุดไม่อยู่ แรงขายลามไปถึงสินทรัพย์ทางเลือกเช่น bitcoin ด้วย ทำให้นักลงทุนต้องปรับตัว

เมื่อย้อนอดีต การขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบระยะสั้นๆ โดยตลาดจะกังวลลในช่วงแรกของการขึ้นดอกเบี้ย แต่ขึ้นจริงๆแล้วมักจะเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามา สำหรับปีนี้ตลาดมองกันว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งขึ้นไป ทำให้ภาพรวมของตลาดปีนี้น่าจะผันผวนหนัก

ถ้าไม่มั่นใจในชีวิตกลยุทธ์หนึ่งที่ดีคือขายหุ้นมาถือเงินสด เพื่อประเมินว่ากลุ่มไหนได้ประโยชน์หรือกระทบเชิงลบ สำหรับกลุ่มที่ได้ประโยชน์และผลลบจากดอกเบี้ยขาขึ้นจากคลิปของ คุณมยุรี โชวิกรานต์[1] สรุปไว้มีอะไรบ้างมาดูกันครับ

กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่เป็นกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์ ดอกเบี้ยขึ้นดอกเบี้ยรับจะสูงขึ้น เงินฝากใช้เวลาในการขึ้นดอกเบี้ยทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยสูงขึ้น กำไรของกลุ่มธนาคารจะดีขึ้น

กลุ่มต่อมาคือหุ้นกลุ่มนำเข้า เนื้องจากการขึ้นดอกเบี้ยที่อเมริการจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หุ้นที่นำเข้าเยอะๆจะได้ประโยชน์

ส่วนกลุ่มได้ผลกระทบคือธนาคารขนาดเล็ก ลิซซิ่ง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินเชื้อที่ดอกเบี้ยรับคงที่ พอดอกเบี้ยขึ้นทำให้ต้นทุนส่วนดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น และส่วนต่างดอกเบี้ยลดลง กลุ่มต่อมาคือกลุ่มส่งออกเนื่องจากค่าเงินจะแข็งขึ้น และกลุ่มที่มีหนี้เยอะต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้น กำไรจะลดลง

สำหรับการปรับตัวในตลาดต่างประเทศเม็ดเงินเริ่มไหลเข้าหุ้นกลุ่ม Value มากขึ้นและออกจากหุ้นกลุ่ม Growth โดยเฉพาะหุ้น technology ที่โดนเทแบบไม่บันยะบันยังมาหลายเดือน

สำหรับอนาคตของภาวะเงินเฟ้อ บทวิเคราะห์หลายๆสำนักมองกันว่า ช่วงครึ่งปีหลังน่าจะเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากภาวะ supply shock น่าจะปรับตัวดีขึ้น เปิดเมืองมากขึ้นการค้าขายทำได้เป็นปกติ สิ่งที่ตลาดอยากเห็นคือ เงินเฟ้อขึ้นในอัตราที่ช้าลง แต่สำหรับเมืองไทยกว่าจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยอาจเป็นช่วงปี 2566 เนื่องจากบ้านเราเพิ่งเริ่มเปิดเมือง และการท่องเที่ยวก็ยังไม่ฟื้น

โดยรวมการลงทุนในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นจะเป็นช่วงที่เล่นยากเพราะมักจะเป็นช่วงปลายของรอบเศรษฐกิจที่เศรษฐกิจจะเริ่มชะลอตัวนักลงทุนหลายท่านมักจะเริ่มเก็บคองอเข่ากันมากขึ้น

Cr ดอกเบี้ยขาขึ้น : หุ้นไหนได้ หุ้นไหนเสีย | 3 Minutes with Investment Guru – YouTube https://www.youtube.com/watch?v=m5UX7gfQH8Q

X