วันมืดมิดในชีวิตการลงทุน EP.2 ชาย มโนภาส

วันนี้มาฟังบทเรียนจากประสบการณ์การลงทุนกว่า 30 ปีของอ ชาย มโนภาส ว่ากว่าจะมาถึงวันนี้ได้เขาผ่านอะไรมา ได้เป็นแนวทางการประยุกต์ใช้ลงทุนของเราได้ครับ


อ เล่าว่า ช่วงที่เจ็บหนักสูดคือช่วงวิกฤติซัพพรามในปี 2008 แต่ แม้ว่าก่อนหน้านั้นได้เริ่มเห็นสัญญาณมาก่อน เช่น ยอดขายบ้านที่ลดลง การล้มของธนาคาร เลแมน บราเดอร์สทำให้ขายหุ้นทิ้งตั้งแต่ดัชนี 800 จุด
และเมื่อดัชนีลงมา 600 จุดก็เข้าไปช้อเพราะเห็นว่าลงมาเยอะมากแล้ว และวิกฤติที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดในประเทศ เหมือนรอบต้มยำกุ้ง


แต่ราคาหุ้นก็ยังลงต่อ จุดจุดต่ำสุดที่ 200 จุด เนื่องจากปัญหาสภาพคล่องของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ต้องขายสินทรัพย์ทั่วโลก เพื่อดึงสภาพคคล่องกลับ และฝรั่งขายแทบจะทุกราคา เริ่มจากขายหุ้นใหญ่ พอขายหุ้นใหญ่จบก็ไล่มาหุ้นเล็ก


สำหรับการแก้เกมส์ ของ อ ชาย มโนภาส โดยการเลือกหุ้นคุณภาพดีเข้าพอร์ท โดยเลือกบริษัทที่มีความสามารถในการแข็งขัน หนี้น้อยๆ กระแสเงินสดดำเนินงานเป็นบวก และเน้นทำธุรกิจภายในประเทศ เพราะช่วงนั้นบริษัทที่ทำส่งออกเจ้งหมด เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในอเมริกา และยุโรป ที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ของ ไทยมีปัญหาไปด้วย


ยกตัวอย่างหุ้นธนาาคารเอาเงินฝากไปปล่อยกู้ แต่ทุนมี 10% ของสินทรัพย์เอง แสดงว่าถ้าเกิดหนี้เสีย ซัก 10% ก็เจ้งแล้ว ในขณะที่ธนาคารอเมริกาล้มกันระเนระนาดแต่บริษัที่ขายของจำเป็น หนี้น้อย wallmart dollar tree ก็ยังไม่ปิด ขายของได้อยู่ อ ชาย มโนภาส ได้เสริมเรื่องการวิเคราะห์มหภาคว่าต้องดูอะไรบ้าง เพราะบางทีหุ้นที่ขึ้นก็อาจไม่ได้ดีเสมอไป อาจขึ้นจากสภาพคล่อง ปริมาณเงิน ตึงตัวหรอืเปล่า inter bankrate การกู้ยืมระหว่างธนาคาร repo rate M1 m2 ยอดซื้อขายบ้าน รถ สภาพคล่องดีก็ดันหุ้นขึ้นไปได้
หลังจากวิกฤติซัพพรามทำให้สภาพคล่องในระบบหดหาย ก็มีเรื่องโชคดีคือการออกนโยบาย QE ของเฟตอัดเงินเข้าระบบ ทำให้แก้ปัญหาสภาพคล่องของธนาคาร และเครื่องยนต์เศรษฐกิจกลับมาทำงานได้ แต่เงินส่วนหนึ่งที่ไม่ได้เข้ามาที่ real sector ก็เข้ามากองทันที่ตลาดหุ้น ทำให้ตลาดหุ้นวิ่งแบบไม่ลืมหูลืมตา
บาดแผลการลงทุน


ตัวที่ทำให้เจ็บตัวหนึงคือหุ้นที่ทำธุรกิจสายการบินแห่งหนึ่ง เข้าตลาดหุ้นมาด้วยเรืองราวสวยหรู จากภาพใหญ่การเติบโตของภาคการท่องเที่ยว และการเดินทางภายในประเทศทำให้ความต้องการเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้น แต่หลังจาก IPO มาราคาหุ้นก็ร่วงอย่างเดียว จากสภาพการแข่งขันที่มากขึ้นจากคุ่แข่งรายใหม่ทำให้ บริษัทต้องลงทุนเยอะขึ้น และมาเจอเรื่อราคาน้ำมันที่พุ่งสูงทำให้พาเจ้งไปอีก
อีกกรณีศึกษาที่กำไรไม่มาตามนัดคือหุ้น OISHI หลังจากเข้าซื้อกิจการจากกลุ่มไทยเบฟ และทำตลาดร่วมกับบริษัทเสริมสุขที่ทำน้ำอัดลมแบรนด์ เอส ที่มีเครื่อข่ายการจัดส่งในร้านค้าทั่วประเทศ ก็จะเชื่อว่าจะมีการ synergy กัน โดยสินค้าตัวแรกคือนำชาเขียว Oishi ขวดแก้วเข้าไปจำหน่ายในร้านอาหาร แต่สุ้ดท้ายกำไรก็ไม่ได้มาตามนัด


พิธีการถามถึงจุดขาย อ ชาย บอกว่าพิจารณาจากหลายๆองค์ประกอบประกอบกันทั้งราคาและพื้นฐาน ถ้าไม่ไหวจริงก็ต้องดูว่าเราพร้อมจะเสียแค่ไหน ถ้าได้กำไรจากตัวอื่นพอควร ก็รักษาเงินต้นไว้กอ่นได้
เรื่องยากของนักลงทุนอีกเรื่องคือการยึดติดกับโอกาส เพราะช่วงแรงๆที่ลงทุนความรู้ยังไม่เยอะกว่าจะเจอหุ้นแต่ละตัวก็ยาก เราต้องขยายขอบข่ายความรู้ของการลงทุนให้กว้างขึ้น จะเจอหุ้นได้มากขึ้น และเอาทรัพยากรมาใส่หุ้นที่แน่ๆ ลงทุนในสิ่งที่เราเห็นภาพชั้นดีกว่า และพยายาม bet ให้น้อยที่สุด


ในเรื่องของการประเมินมูลค่าบางทีหุ้น PE ต่ำๆก็ไม่ได้ดีเสมอไป ต้องมีความรู้ทางธุรกิจประกอบด้วย ว่ารอบธุรกิจยังขาขึ้นไหม กำไรโตได้หรือไม่ไหม สินค้าตอบโจทย์ไหม ยกตัวอย่างเช่นหุ้นอสังหาถ้า PE ต่ำเพราะกำไรเพิ่มจากการโอนโครงการใหญ่ๆไปแล้วอนาคตไม่มีโครงการใหญ่ๆทำต่อ กำไรอนาคตก็อาจลดลง PE ที่เห็นต่ำๆ ก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้น และจากหุ้นถูกก็จะกลายเป็นหุ้นแพงไปได้


หลังจากฟัง อ ชาย จะเห็นว่าแรกๆขยันหาความรู้ไว้ก่อน เดี๋ยวพอความรู้เริ่มเยอะ เราจะเห็นโอกาสมากขึ้น และลงทุนได้คมมากขึ้น ลงทุนได้คมยิ่งๆขึ้นไปทุกท่านครับ


ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=MjStBdYQ7zg

X