ก่อนหน้านี้มีประเด็นที่น่าสงสัย ราคาน้ำตาลช่่วงที่ผ่านได้รัยผลกระทบจากปรากฎการณ์ธรรมชาติได้มากน้อยเพียงใด เพราะ เคยเฝ้าติดตามราคาช่วงปรากฎการณ์ลานีญา (La Nina)
จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทย 50 ปี พบว่าในปีลานีญาปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ ส่วนประเทศฝั่งอเมริกาใต้ก็จะเกิดสภาวะตรงข้ามคือ อากาศร้อน แห้งแล้งกว่าปกติ
บนโลกนี้ น้ำตาลผลิตจากอ้อย คิดเป็นสัดส่วน 77.9% ของผลผลิตน้ำตาลทั้งหมด แหล่งผลิตหลักมาจากประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร อาทิ บราซิล และประเทศในเอเชียแปซิฟิก อาทิ อินเดีย และไทย .ผลิตรายใหญ่สุดของโลก คือ อินเดีย (19.1% ของปริมาณการผลิตทั่วโลก) บราซิล (16.4%) สหภาพยุโรป (10.0%) และไทย (8.1%) (ข้อมูลปี 2562)
ราคาน้ำตาลหลักที่เข้าใจราคาขึ้นลงตามผลผลิต supply น้อยราคาย่อมสูงขึ้น ซึ่งผลผลิตน้ำตาลมาจากอ้อย ซึ่งเป็นพืชที่ไม่ชอบภัยแล้ง หรือ ปรากฎการณ์เอลนีโญ
อย่างในช่วงเหตุการณ์ ปี 2015-2017 ราคาน้ำตลาดพุ่งสูงสุด 38% จากปัญหาภัยแล้งรุนแรงในเอเชียและภาวะฝนตกหนักในบราซิล ทำให้ผลผลิตอ้อยเสียหาย ส่งผลให้อุปทานน้ำตาลโลกปี 2016 หดตัว 7.1% อยู่ที่ 165.0 ล้านตัน และ ปี 2020 ผลผลิตน้ำตาลทรายในตลาดโลกหดตัว 7.5% เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น บราซิล อินเดีย และไทยเผชิญภาวะภัยแล้งรุนแรง รวมถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนสะดุดลงชั่วคราว และเกิดความไม่แน่นอนของปริมาณส่งออกน้ำตาลทราย
ผลักดันให้ราคาน้ำตาลทรายดิบโลกแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 332.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้น 4.3% และ 12.8% จากปีก่อนหน้า ตามลำ.ข่าวช่วงนี้เราจะได้ยินกันเยอะมากๆ 3 ปีนับจากนี้ประเทศเรา และอินเดีย จะต้องเจอกับปัญหาภัยแล้งยาวนาน คำถามเกิดขึ้นในหัวว่า มันจะทำให้ผลผลิตลดลงหรือไม่ และทำให้ราคาน้ำตาลพุ่งสุงไหม? จะได้เตรียมทำการบ้านหุ้นน้ำตาลรอไว้
เพื่อนๆ คิดว่าอย่างไรครับ comment มาบอกกันหน่อย ไว้ผมหาข้อมูลมา share เพิ่มให้ เจอกันที่ Threads นะครับ
https://www.threads.net/@ruklabhoon ฝากกดติดตาม ด้วยนะครับ ใครที่ชอบข้อมูลเชิงลึก เชิงสถิติ#ภัยแล้ง#ลงทุน#ตลาดหุ้น#น้ำตาล#ksl#kbs#brr#หุ้น#ตลาดหุ้น#ลานีญา#เอลนีโญ