สอนใช้หุ้น สว กับระบบ
หนังสือ สรุป Beating the SET ลงทุนอย่างผู้จัการกองทุน ปีเตอร์ ลินช์
Workshop พิเศษ เจาะหุ้น สวกับหลักการ CANSLIM เปิดเผยสถิติที่ต้องตกใจ dataไม่เคยโกหกใคร
Tender Offer คืออะไร
Tender Offer คือการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ
เราคงเคยได้ยินคำว่า Take Over บริษัทนั่นก็คือการที่มีคนเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และ มีอิทธิพลเหนือการบริหารงานของบริษัทซึ่งการกระทำในลักษณะนี้ เรียกว่า “การครอบงำกิจการ” นั้นเอง
อย่างไรก็ตามในฐานะที่เราเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยคงมีคำถามว่า เมื่อบริษัทถูกครอบงำกิจการจะมีกฎกติกาอะไรหรือไม่ ที่จะทำให้เราไม่เสียเปรียบนั่นก็เป็นที่มาของกฎเกณฑ์เรื่องการครอบงำกิจการกฎเกณฑ์เรื่องนี้ระบุไว้ว่า คนที่เข้ามาครอบงำกิจการ จะต้องทำคำเสนอซื้อ หรือ Tender Offer จากผู้ถือหุ้นรายอื่นที่เหลือทั้งหมดของกิจการด้วย.การทำคำเสนอซื้อตามหน้าที่แบบนี้ จะเรียกว่า Mandatory Tender Offer ซึ่งจะต้องทำเมื่อผู้ที่ครอบงำกิจการได้หุ้นจนถือหุ้นถึง ร้อยละ 25, 50, 75 ขึ้นไปของกิจการ.ทั้งนี้ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ เพื่อปกป้องรายย่อย เช่น การกำหนดให้ราคา Tender Offer ต้องไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คนเข้ามาครอบงำกิจการเคยซื้อภายใน 90 วัน อีกด้วย
โพยหุ้นปันผลดี
ในกลางภาวะตลาดผันผวน เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ หลายคนคงอยากได้หุ้นปลอดภัย ถือแล้วอุ่นใจ ไม่เสียวไส้ ใจสั่น วันนี้พวกเราคัดหุ้นปันผลเด็ดๆ มาให้เพื่อนๆ พี่ๆ นักลงทุนไปทำการบ้านกันต่อครับ
แอดไลน์ GOINVEST FREE!!! พูดคุยปรึกษาการหาปันผล หรือ จัดพอทเพื่อ
6 ตัวกรองคัดหุ้นปันผลดี
หุ้นปันผล เป็นหุ้นที่มีความปลอดภัยสูงโดยเฉพาะในช่วงตลาดผันผวน เพราะถึงแม้ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลงแต่ก็ยังได้รับเงินปันผล
ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายให้กับพอร์ตลงทุนได้ อีกทั้งบริษัทที่จะจ่ายเงินปันผลออกมาได้นั้น ธุรกิจต้องมีกำไร การลงทุนในหุ้นปันผลจึงเป็นการลงทุนในธุรกิจที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันสูง
วันนี้เลยหยิบความรู้การกรองหุ้นปันผลีมาฝากกันนะครับ6 ตัวกรองคัดหุ้นปันผลดี ดังนี้
1. ต้องเป็นหุ้นที่มีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่เป็นเงินสด (Cash Dividend) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี ให้ครอบคลุมช่วงที่เกินภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่น ปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงหลังจุดเริ่มต้นของ Hamburger Crisis – 2558) การกำหนดเงื่อนไขนี้ ก็เพื่อจะคัดกรองหาบริษัทที่มีทั้งความตั้งใจหรือมีนโยบายชัดเจนที่จะจ่ายเงินปันผล และในขณะเดียวกันก็ต้องอยู่ในฐานะที่มีความพร้อมในการที่จะจ่ายเงินปันผลอีกด้วย ทั้งนี้ สามารถที่จะวิเคราะห์ผ่านองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้
2.) กำไรสะสม บริษัทที่จะจ่ายเงินปันผลได้ต่อเนื่องต้องมีกำไรสะสมที่มากเพียงพอ เพราะกฎหมายกำหนดให้จ่ายเงินปันผลได้เมื่อกิจการมีกำไรสะสมเป็นบวกเท่านั้น ดังนั้น หากติดลบกลายเป็นขาดทุนสะสม หรือ บวกน้อย ก็จะมีข้อจำกัดในการจ่ายเงินปันผลได้น้อย หรืออาจจ่ายได้ไม่ต่อเนื่อง
3.) กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow from Operation, CFO) ถือเป็นรายการหลักที่วัดความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดของกิจการ เพราะถึงแม้กิจการจะมีกำไรสุทธิ แต่ CFO ติดลบ ก็จะให้มีข้อจำกัดในการจ่ายเงินปันผล ยิ่งไปกว่านั้น ก็จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ากิจการจำเป็นต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมมาใช้หมุนเวียน ซึ่งหากไม่มีเงินทุนสำรอง ก็อาจต้องก่อหนี้เพิ่ม ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนมีแนวโน้มสูงขึ้น ถือเป็นอุปสรรคในการจ่ายเงินปันผลที่สำคัญ
4.) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity) โดยหลักการบัญชี การจ่ายเงินปันผล เป็นกลไกที่ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นสุทธิ (Net Equity) ลดต่ำลง ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้อัตราส่วน Debt to Equity ปรับสูงขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวทำให้กิจการที่มีอัตราส่วน Debt to Equity สูงอยู่แล้ว มีข้อจำกัดในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ การที่จะบอกว่า Debt to Equity ระดับใดสูง ควรทำการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเป็นเกณฑ์ เช่น ไม่เกิน 2 เท่า
5) อัตราส่วนการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout Ratio) อาจถือได้ว่าเป็นการวัดความตั้งใจที่จะจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ บริษัทที่อยู่ในช่วงที่มีการเติบโตสูงมักจะมี Dividend Payout Ratio ที่ต่ำ เช่น ประมาณ 30% ของกำไร เนื่องจากผู้บริหารมีความเชื่อว่า หากเก็บเงินที่จะจ่ายเงินปันผลไว้ลงทุนขยายกิจการต่อ ก็น่าจะสร้างผลตอบแทนในระยะยาวให้ผู้ถือหุ้นได้มากกว่าการนำเงินมาจ่ายเงินปันผล ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้เรียกได้ว่าเป็น Growth Stock นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นประเภทนี้ควรคาดหวังผลตอบแทนจาก Capital Gain มากกว่า Dividend ในทางตรงข้ามบริษัทที่ได้ผ่านช่วงของการลงทุนขนาดใหญ่มาแล้ว หรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนลดลง อาจสามารถกำหนด Dividend Payout Ratio ที่สูงขึ้นได้ โดยอาจกำหนดที่ระดับสูงกว่า 50% ของกำไรสุทธิ หรือบางบริษัทอาจจ่ายถึง 100% ของกำไรสุทธิ (มีกำไรสุทธิเท่าไรในแต่ละปี นำมาจ่ายเป็นเงินปันผลทั้งหมด) ซึ่งนักลงทุนที่ต้องการได้รับผลตอบแทนการลงทุนมาจาก Dividend Yield ควรที่จะเลือกลงทุนในหุ้นประเภทนี้
6. ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) มากกว่า 5% ต่อปี ทั้งนี้ตัวเลข Dividend Yield ที่กำหนดเป็นอัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนควรจะได้รับ หากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการเข้าไปลงทุน ออกมาตามที่คาด แต่การที่จะกำหนดเท่าไรขึ้นอยู่กับความพอใจ และ ขีดความสามารถในการรับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ อย่างไรก็ตามหากตั้งเกณฑ์คัดกรองหุ้นโดยกำหนด Dividend Yield ที่สูงจนเกินไป ก็อาจมีหุ้นที่เป็นตัวเลือกน้อยลง และที่สำคัญ เงินปันผลที่ใช้นำมากำหนดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ ต้องเป็นเงินปันผลที่คาดการณ์ว่าจะได้รับในอนาคต ไม่ใช่เงินปันผลที่จ่ายมาแล้วในอดีต
หากสนใจเข้ารวมห้องLINE เพื่อพูดคุยเรื่องกองทุน แลกเปลี่ยนความรู้ https://line.me/ti/g2/qBJJsQlZNF2Qc2-tuC6MfOLftB1Iy8dXKszLsg?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default
.
Cr Set.or.th, setinvestnow , คุณ เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เป็นเศรษฐีหน้าใหม่ ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอ
เป็นเศรษฐีหน้าใหม่ ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย :
Jaspreet SinghJaspreet Singh เป็นใคร Founder & CEO at Druva, Inc
ซึ่งเป็นผู้นำในการปกป้องข้อมูลและการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ และเป็นนักลงทุน .ทำช่อง Minority Mindset YouTube Channelโดยมีการดูมากกว่า 15,800,000 ครั้งและผู้ติดตาม 370,000 ราย
Jaspreet ได้ให้คำตอบว่า สาเหตุที่มี millionaire หรือเศรษฐีเงินล้านเกิดในช่วงที่เกิดสภาวะ recession สภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมไปถึงช่วง market crash เป็นเพราะ ในช่วงดังกล่าว จะมีผู้คนเป็นจำนวนมากเกิดความกลัว แล้วพวกเขาก็จะพากันเทขาย assets หรือทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ คริปโตฯ ทองคำ หรือทรัพย์สินอะไรก็ตามที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ณ ขณะนั้น
ซึ่งมันคือโอกาสของคนที่มีเงินสดอยู่ในมือ คนที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ที่มีความรู้ทางด้านการเงิน มีความรู้ในสิ่งที่จะลงทุน ในการช้อนซื้อทรัพย์สินดังกล่าวในราคาที่ถูกกว่าราคาที่มันควรจะเป็น เพราะในช่วงเวลาที่ผู้คนเกิดความกลัวนั้น พวกเขาจะแย่งกันเทขายในราคาที่ถูก เพื่อให้ขายออกไปได้ไวที่สุด
ซึ่งการเข้าซื้อ การเข้าลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว ก็จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ดี ไม่ใช่ราคาลงเพราะบริษัทดังกล่าวล้มละลาย แต่เป็นเพราะราคาหุ้นของบริษัทดังกล่าว ถูกตลาดกดดันให้ราคาหุ้นตกต่ำลง ในขณะที่บริษัทดังกล่าว ก็ยังคงมีผลประกอบการที่ดีอยู่.ดังนั้นสภาวะฟองสบู่แตก สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ นั้น จะมีผลโดยตรงกับผู้คนที่ไม่ได้เตรียมตัว ผู้คนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเงิน เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ.ขอขอบคุณ
ข้อมูลจาก www.blueoclock.com/